June 24, 2010

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ • 72nd Birthday Anniversary of HM the Queen (2004)



พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗
ใน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ




ความหมายของตราลัญลักษณ์

พระมหามงกุฎ พระสัปตปฎลเศวตฉัตร อันเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยศํกดิ์ ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาไว้ในตำแหน่งสมเด็จพระบรมราชินีนาถ
อักษรพระนามาภิไธย ส.ก. ประดิษฐ์ฐานภายใต้พระมหามงกุฎในกรอบลายไทยบนพื้นสีฟ้า อันเป็นสีประจำวันพระราชสมภพ เบื้องล่างเป็นแถบแพรชมพู ขลิบทอง มีตัวอักษรความว่า “พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗” เป็นตราสัญลักษณ์เพื่อระลึกถึงพระราชพิธีมหามงคลแห่งกาลสมัย


The Celebrations on the Auspicious Occasion of Her Majesty the Queen's 6th cycle (72nd) Birthday Anniversary | August 12, 2004

----------------------------

เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗

พระทรงเสาวภาพล้ำ ราชินี
เลิศลักษณ์พระทรงศรี เพริศพร้อม
ยงยิ่งพระบารมี ลือเลื่อง โลกแล
หกรอบทวยราษฎร์น้อม แซ่ซ้องเกียรติคุณ
บุญญานุภาพเพี้ยง โพธิ์ทอง
แผ่ปกพสกผอง ผ่องเผ้า
วิริยะพระทรงปอง ประชาสุข ถ้วนแล
คือประทีปก่องกล้า สว่างหล้านิรันดร์กาล

วันที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗ เป็นวันมหามงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกอบพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ และรัฐบาลในนามของทางราชการและประชาชนได้จัดงานเฉลิมฉลอง เพื่อสำแดงความจงรักภักดีและความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณตลอดปีพุทธศักราช ๒๕๔๗

ในมหามงคลวโรกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กรมศิลปากรดำเนินการออกแบบ ตราสัญลักษณ์งานพระราชพิธีดังกล่าว ซึ่งกรมศิลปากรได้ดำเนินการประกวด และแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งมีจำนวน ๒๔ คน มี นายสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ อธิบดีกรมศิลปากรขณะนั้นเป็นประธาน และอดีตอธิบดีกรมศิลปากรอีก ๓ คน ข้าราชการกรมศิลปากร อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ส่งแบบเข้าประกวด ไม่มีผู้ใดได้รับรางวัล กรมศิลปากรจึงมอบหมายให้ นายสมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร นายช่างศิลปกรรม ระดับ ๕ สำนักสถาปัตยกรรมและหัตถศิลป์ กรมศิลปากร ออกแบบตราสัญลักษณ์ และนำเสนอสำนักราชเลขาธิการ เพื่อนำกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราสัญลักาณ์ดังในภาพ ที่ต่อมากรมประชาสัมพันธ์ได้นำออกเผยแพร่

พระสัปตปฎลเศวตฉัตร หมายถึง ฉัตรผ้าขาว ๗ ชั้น แต่ละชั้นมีระบายขลิบทอง เป็นเครื่องหมายแสดงพระอิสริยยศสำหรับ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบวรราชเจ้าสมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมราชกุมารี ในแบบตราสัญลักษณ์นี้เชิญประดับไว้ซ้ายขวาของดวงตรา ซึ่งในอดีตเมื่อครั้งพระราชพิธีรมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๕ นั้น ตราสัญลักษณ์มีพระสัปตปฎลเศวตฉัตร กางกั้นเหนืออักษรพระนามาภิไธยย่อ ส.ก.หลังพระมหามงกุฎ และมีฉัตร ๕ ชั้น ประกอบไว้ซ้ายและขวาของดวงตรา แต่เนื่องจากตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ นี้ ไม่มีพระสัปตปฎลเศวตฉัตรเหนืออักษรย่อพระนามาภิไธย ส.ก. จึงเชิญฉัตร ๗ ชั้น ประดับไว้สองข้างอักษรย่อพระนามาภิไธย ส.ก. เพื่อแสดงถึงพระอิสริยยศ ของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ โดย สกุลไทย: http://sakulthai.com/HMQueen-72ndBirthday
----------------------------

คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ดำเนินการจัดการประกวดตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯขึ้น เพื่อกำหนดเป็นตราสัญลักษณ์ของงานในการเผยแพร่ ตลอดจนกิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ และแสดงความจงรักภักดีโดยพร้อมเพรียงกัน ในการนี้ มีผู้สนใจส่งแบบเข้าประกวดจำนวน ๕๓ คน ผลงานรวม ๘๕ ชิ้น

สำหรับผลการตัดสินภาพที่โปรดเกล้าฯให้เป็นภาพตราสัญลักษณ์ในการจัดงานครั้งนี้ออกแบบโดยนายสมชาย ศุภลักษณ์อำไพ นายช่างศิลปกรรม 4 สำนักสถาปัตยกรรมและหัตถศิลป์ กรมศิลปากร

ตราสัญลักษณ์ที่เข้าร่วมการประกวด

----------------------------



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ไปในงานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียนรัฐบาล

Their Majesties the King and Queen, accompanied by members of the Royal Family, attending the State Banquet hosted by Royal Thai Government, in honour of Her Majesty the Queen on the occasion of Her Majesty the Queen's 6th cycle (72nd) Birthday Anniversary, August 12, 2004, at the Government House.

รัฐบาลจัดงานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันอังคารที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๙.๓๐ น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา หม่อมเจ้าสิริวัณวรี มหิดล หม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา คุณพลอยไพลิน เจนเซ่น คุณพุ่ม เจนเซ่น และคุณสิริกิติยา เจนเซ่น
โดยรัฐบาลได้ทูลเกล้าฯ ถวายผ้าทรงสะพัก (สไบทองถัก) แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมทั้งจัดการแสดงหน้าพระที่นั่งชุดพิเศษเฉลิมพระเกียรติ ณ ลานหินอ่อนห้องโถงตึกสันติไมตรี หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีจะขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลในนามพสกนิกรชาวไทย พร้อมเชิญชวนผู้ร่วมงานดื่มถวายพระพรชัยมงคลและถวายพระกระยาหารค่ำ



----------------------------


สองหัตถ์เสกศิลป์แผ่นดิน

ผลงานที่จัดแสดงในงานศิลป์แผ่นดินครั้งที่ 4 นี้ ล้วนสำเร็จด้วยฝีมือของนักเรียนในโรงฝึกศิลปาชีพสวนจิตรลดา “ปัญหาคือเขาไม่ค่อยเชื่อว่างานเหล่านี้เป็นฝีมือของลูกหลานชาวนาชาวไร่ ที่พระองค์ท่านนำมาฝึกวิชาช่างให้” ท่านผู้หญิงสุภรเพ็ญ หลวงเทพ รองราชเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินินาถ กล่าวถึงคำถามที่มักจะได้ยินบ่อย ๆ คำว่า “งานเหล่านี้” หมายถึงรวมถึงฝีมือที่สร้างงานพิเศษ 3 ชิ้น ตั้งแต่แสดงเป็นสง่าอยู่กลางงานศิลป์แผ่นดินครั้งนี้ด้วย งานทึ้ง 3 ชิ้นล้วนเพริศแพร้วอร่ามทอง ได้แก่บุษบกมาลา / สัปคับพระคชธาร / สุพรรณเภตรา




อ่านเพิ่มเติม: สองหัตถ์เสกศิลป์แผ่นดิน
archive.thaimiss.com/2004 Art of the Kingdom

No comments:

Post a Comment