May 22, 2019

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี • Queen Suthida of Thailand



อักษรพระนามาภิไธยย่อ ส.ท.
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

อักษร ส. สีม่วง อันเป็นสีประจำวันพระราชสมภพ (วันเสาร์) 
และ อักษร ท. สีเหลือง 
ภายใต้มงกุฎขัตติยราชนารี

ออกแบบโดย นายสุนทร วิไล 
ช่างศิลป์ประจำประองค์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว


May 5, 2019

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว • King Vajiralongkorn of Thailand




พระราชลัญจกร
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

รูปวชิราวุธซึ่งหมายถึง สายฟ้าอันเป็นเทพศาสตราของพระอินทร์ เป็นสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย "วชิราวุธ" มีแบบตามพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ด้านบนมี พระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฎ เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ และเป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีแบบตามพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แทนคำว่า “อลงกรณ์” ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับ

เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย “มหาวชิราลงกรณ

เปล่งรัศมีเป็นสายฟ้า ประดิษฐานอยู่บนพานแว่นฟ้า พร้อมด้วยฉัตรบริวาร


ทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า 

"พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ 
มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร 
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว"

 และมีพระปฐมบรมราชโองการ ความว่า 

เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป 
— พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว


ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ระหว่างวันที่ ๔-๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 


King Vajiralongkorn of Thailand

 Phrabat Somdet Phraporamenthra Ramathibodhi Sisin Maha Vajiralongkorn 
Mahison Bhumibol Rajavarangkun Kitisirisumbun Adulyadej Sayaminthrathibet Ratwarodom Borommanat Bophit 
Phra Vajira Klao Chao Yu Hua

March 11, 2019

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ • The Auspicious Occasion of the Coronation of King Rama X B.E. 2562 (2019)


พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พุทธศักราช ๒๕๖๒
 



ตราสัญลักษณ์
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก 
พุทธศักราช ๒๕๖๒

อักษรพระปรมาภิไธย วปร อยู่ตรงกลาง พื้นอักษรสีขาวขอบเดินทอง อันเป็นสีของวันจันทร์ซึ่งเป็น วันพระบรมราชสมภพ ภายในอักษรประดับเพชร ตามความหมายแห่งพระนาม มหาวชิราลงกรณ อักษร "วปร" อยู่บนพื้นสีขาบ (น้ำเงินเข้ม) อันเป็นสีของขัตติยกษัตริย์ ภายในกรอบพุ่มข้าวบิณฑ์สีทองสอดสีเขียว อันเป็นสีซึ่งเป็นเดชแห่งวันพระบรมราชสมภพ กรอบทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ อัญเชิญมาจากกรอบที่ประดิษฐานพระมหาอุณาโลม อันเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ 

แวดล้อมด้วย เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ อันเป็น เครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์และเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราช ได้แก่ พระมหาพิชัยมงกุฎ พร้อมอุณาโลมประกอบเลขมหามงคลประจำรัชกาล อยู่เบื้องบน พระแสงขรรค์ชัยศรี กับ พระแส้จามรี ทอดไขว้อยู่เบื้องขวา ธารพระกรกับพัดวาลวิชนี ทอดไขว อยู่เบื้องซ้าย และฉลองพระบาทเชิงงอน อยู่เบื้องล่าง 

พระมหาพิชัยมงกุฎ หมายถึง ทรงรับพระราชภาระอันหนักยิ่งของแผ่นดินเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน 
พระแสงขรรค์ชัยศรี หมายถึง ทรงรับพระราชภาระปกป้องแผ่นดินให้พ้นจากภยันตราย 
ธารพระกร หมายถึง ทรงดำรงราชธรรมเพื่อค้ำจุนบ้านเมืองให้ผาสุกมั่นคง 
พระแส้จามรีกับพัดวาลวิชนี หมายถึง ทรงขจัดปัดเป่าความทุกข์ยากเดือดร้อนของอาณาประชาราษฎร์ 
ฉลองพระบาทเชิงงอน หมายถึง ทรงทำนุบำรุงปวงประชาทั่วรัฐสีมาอาณาจักร 

เบื้องหลังพระมหาพิชัยมงกุฎ ประดิษฐาน พระมหาเศวตฉัตร อันมีระบายขลิบทอง จงกลยอดฉัตรประกอบรูปพรหมพักตร์อันวิเศษสุด ระบายชั้นล่างสุดห้อยอุบะจำปาทอง แสดงถึงพระบารมีและพระบรมเดชานุภาพที่ปกแผ่ไปทั่วทิศานุทิศ เบื้องล่าง กรอบอักษรพระปรมาภิไธยมีแถบแพรพื้นสีเขียวถนิมทอง ขอบขลิบทอง มีอักษรสีทองความว่า พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ 

ปลายแถบแพรเบื้องขวามีรูปคชสีห์กายม่วงอ่อน ประคองฉัตร ๗ ชั้น หมายถึง ข้าราชการฝ่ายทหาร เบื้องซ้ายมีรูปราชสีห์กายขาวประคองฉัตร ๗ ชั้น หมายถึง ข้าราชการฝ่ายพลเรือน ผู้ปฏิบัติราชการสนองงานแผ่นดินอยู่ด้วยกัน ข้างคันฉัตรด้านในทั้งสองข้างมีดอกลอยกนกนาค แสดงถึงปีมะโรงนักษัตรอันเป็นปีพระบรมราชสมภพ สีทองหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองยิ่งของประเทศชาติและประชาชน 


     



    




     

(Unofficial Translation
The Royal Emblem on the Auspicious Occasion 
of the Coronation of King Rama X B.E. 2562 (2019) 

The Royal Emblem, marking the Coronation of King Rama X B.E. 2562 (2019), depicts, in the centre, in white trimmed with gold, the Royal Cypher of His Majesty King Maha Vajiralongkorn. Each letter of the Cypher is decorated with diamonds which denote the origin from which the royal name "Maha Vajiralongkorn" is derived, whilst the gold trimming of the Cypher represents the colour of Monday which is the day of birth of His Majesty. The Cypher rests on a background of dark blue, the colour of righteous kingship, contained within a lotus bud frame marked out in gold and green, the mixture of which two colours signifies the power and might of His Majesty's day of birth. The lotus bud frame begets inspiration from the shape of its foremost predecessor ‐‐ the frame which enclosed the Great Unalome insignia of the Royal Seal of State of His Majesty King Buddha Yodfa Chulalok the Great (Rama I), founder of the Chakri Dynasty. Surrounding the outer parts of the frame are the Five Royal Regalia, deemed to embody the symbol of Kingship itself. Placed on top of the Royal Cypher is the Great Crown of Victory with the Unalome insignia which Unalome includes within it the sequence number of this reign. The Sword of Victory and the Royal Whisk of the Yak's Tail lie to the right of the Emblem while on the left of the Royal Emblem are placed the Royal Sceptre and the Royal Fan, and, lastly, below the Royal Cypher rest the Royal Slippers. The Great Crown of Victory represents the great burden bearing down on the person of His Majesty for the sake of his people's happiness. The Sword of Victory symbolises His Majesty's responsibility to protect the Kingdom from all harm threatening it. The Royal Sceptre signifies His Majesty’s Royal virtues to bring forth peace and stability to the Kingdom. The Royal Whisk and the Royal Fan symbolise His Majesty's righteousness as a ruler in relieving the suffering and hardship of His subjects. The Royal Slippers represent His Majesty’s care in fostering the sustenance and welfare throughout the Kingdom. Standing tall behind the Great Crown of Victory is the Great Umbrella of State trimmed with bands of gold. At the top of the Umbrella of State is the lotus bud finial showing Brahma Faces while the lowest tier of the Umbrella is decorated with golden Champa bouquets representing the extension in all directions yonder of His writ and authority. On the lowest part of the Emblem run stretches of green‐gold ribbon, trimmed in gold, bearing the words "The Coronation of King Rama X B.E. 2562 (2019)". At the right tip of the ribbon stands the purple Kojasi holding up a Seven‐tiered Umbrella representing the Armed Forces. On the left tip of the ribbon stands the white Ratchasi holding a second Seven‐tiered Umbrella which represents the Civil Service, which left and right together form the two pillars of public service. On the inner side of the shafts of the two Umbrellas, there are golden Naga traceries denoting the year of the dragon, the year of His Majesty's birth. The golden colour of the Naga traceries signifies the prosperity for the nation and her people.




July 31, 2018

Jakarta Palembang 2018 • the 18th Asian Games: "Energy of Asia"


  Jakarta Palembang 2018
the 18th Asian Games

 2018 Asian Games || Pesta Olahraga Asia 2018

 pan-Asian multi-sport event scheduled to be held from 18 August to 2 September 2018 in the Indonesian cities of Jakarta and Palembang.

"Energy of Asia"
(Indonesian: Energi Asia)




Emblem, Jakarta - Palembang 2018
The Energy of Asia lies in the diversity of it’s culture, heritage, and legacy. When all these elements come together, they will be a major force to reckon in the world.

The same principle applies to Indonesia, home to hundreds of ethnic groups speaking many different languages. Our Founding Fathers had envisioned a strong and united nation under the Bhinneka Tunggal Ika philosophy.

That is why we decide to propose three different animals as the official game’s mascot. Also in correlation to Asian Games, each of these animals represents an aspect of the sport competition such as strategy, speed and power.



    

Mascot 
BHIN BHIN: 
Bhin Bhin is a bird of paradise (Paradisaea apoda) that represent strategy.

ATUNG: 
Atung is a Bawean deer (Hyelaphus kuhlii) that represents speed.

KAKA: 
Kaka is a single-horned rhinoceros (Rhinoceros sondaicus) that represents strength.







December 13, 2016

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ • HRH Princess Aditayadornkitikhun



พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
 Her Royal Highness Princess Aditayadornkitikhun 

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ (๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๗) เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กับนาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นพระภาคิไนยในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร











พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ เสด็จปฏิบัติพระราชกรณียกิจพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และสักการะพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช

 ขอบพระคุณภาพจากสำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์


December 5, 2016

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร • King Vajiralongkorn (RAMA X) of Thailand




Royal Cypher of King Vajiralongkorn  [RAMA X]
Maha Vajiralongkorn Bodindradebayavarangkun

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (พระราชสมภพ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี และเป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ขณะพระชนมายุได้หนึ่งพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระราชทานพระนาม ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นผู้ตั้งพระนามถวายตามดวงพระชะตา ว่า

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ
บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล
อภิคุณูปการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร
กิตติสิริสมบูรณสวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร

พระนาม "วชิราลงกรณ" นั้น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ทรงตั้งถวาย มาจาก "วชิรญาณะ" พระนามฉายาขณะผนวชในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผนวกกับ "อลงกรณ์"Ž จากพระนามในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความหมายว่า "ทรงเครื่องเพชรนิลจินดา" หรืออาจแปลว่า "อสุนีบาต"

สยามมกุฎราชกุมาร
เมื่อมีพระชนมายุครบ 20 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า

"สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ 
บดินทรเทพยวรางกูร  สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ 
วรขัตติยราชสันตติวงศ์  มหิตลพงศอดุลยเดช 
จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ  สยามมกุฎราชกุมาร"

พระราชอิสริยยศ

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 — 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515)
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร (28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 — 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559)
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 — ปัจจุบัน)


  







สำนักข่าวรอยัล เวิลด์ ประเทศไทย ได้จัดทำผังลำดับพระบรมวงศานุวงศ์ แห่งพระบรมมหาราชจักรีวงศ์ ในปัจจุบัน ฉบับย่อโดยสังเขป โดยจัดลำดับสืบตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พุทธศักราช 2396 จนถึงปัจจุบัน) เพื่อเป็นความรู้แก่ประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีความสนใจในประวัติศาสตร์ และพระราชสำนักไทย จึงได้จัดทำทั้งฉบับภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

ทุกท่านสามารถดาวน์โหลดภาพผังลำดับพระบรมวงศานุวงศ์ในปัจจุบัน ฉบับภาษาไทย ความละเอียดสูง 2480x3183 พิกเซล ขนาด 1.80 เมกะไบต์ ได้ตามลิงค์นี้ www.mediafire.com/view/0ppkl1i5g755r6p/

----

Royal World Thailand published the Thai Royal Family Genealogy of the Chakri Dynasty (lesser version), descended from King Chulalongkorn (Rama V the Great) from 1853 - present. For whom are interested in history and royal family of Thailand (Thai and English version)

Download the Thai Royal Family Genealogy: English Version (High Definition 2480x3183 pixels; 1.70 MB) by the link: www.mediafire.com/view/9h5y3ar8sb71bb1/



BBC News - Profile: Thailand's new King Vajiralongkorn http://www.bbc.com/news/world-asia-38126928
บีบีซีไทย - พระราชประวัติกษัตริย์พระองค์ใหม่ของไทย http://www.bbc.com/thai/thailand-38173269


June 10, 2016

มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ • The SUPPORT Foundation - The Foundation for the Promotion of Supplementary Occupations and Related Techniques of Her Majesty Queen Sirikit




มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

The SUPPORT Foundation
The Foundation for the Promotion of Supplementary Occupations and Related Techniques of Her Majesty Queen Sirikit


ได้มีผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ทรงจัดตั้ง ขึ้นเป็นมูลนิธิได้สำเร็จ เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ และทรงรับเป็นองค์ประธานมูลนิธิด้วย ต่อมารัฐบาลได้ประจักษ์ถึงผลงาน และคุณประโยชน์ของมูลนิธิ จึงได้รับเป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐ โดยจัดตั้งเป็นกองศิลปาชีพขึ้น ใน สำนักราชเลขาธิการ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ เพื่อ สนับสนุนงานของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพใน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  มูลนิธิใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "The Foundation for the Promotion of Supplementary Occupations and Related Techniques of Her Majesty Queen Sirikit" หรือเรียกย่อๆ ว่า "The SUPPORT Foundation"







May 31, 2016

ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๗๐ ปี ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙ • Commemorative Banknote in the Seventieth Anniversary Celebrations of His Majesty’s Accession to the Throne 9th June 2016





ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ  ๗๐ ปี
๙ มิถุนายน ๒๕๕๙

Commemorative Banknote in
the Seventieth Anniversary Celebrations of His Majesty’s Accession to the Throne
9th June 2016


เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๗๐ ปี ธปท. ได้จัดพิมพ์ธนบัตรที่ระลึกชนิดราคา ๗๐ บาท จำนวน ๒๐ ล้านฉบับ เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติในโอกาสดังกล่าว


ภาพด้านหน้าธนบัตร เชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมทัพ ฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ และพระสังวาลปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ เป็นภาพประธาน

ภาพด้านหลังธนบัตร เชิญพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงพระแสงขรรค์ชัยศรี ทรงยืนเบื้องหน้าพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ


ธนบัตรที่ระลึกฯ นี้ มีความกว้าง 89 มิลลิเมตร ความยาว 162 มิลลิเมตร และมีลักษณะต่อต้านการปลอมแปลง ที่สำคัญดังนี้

1. ภาพประธานด้านหน้าและด้านหลัง พิมพ์ด้วยลายพิมพ์เส้นนูน มีลักษณะคมชัด จะรู้สึกสะดุดเมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือ

2. ตัวเลขไทย “๗๐” ที่ด้านหน้าและด้านหลังธนบัตร พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษ เมื่อพลิกไปมาจะเป็นประกายระยิบระยับ

3. ตัวเลขอารบิก “70” ที่ด้านหลังธนบัตร พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษสลับสีเมื่อพลิกไปมา จะเปลี่ยนจากสีทองเป็นสีเขียว

4. ภายในรูปพระครุฑพ่าห์ที่ด้านหน้าธนบัตร มีตัวเลขแฝงเป็นตัวเลขอารบิก “70” ซ่อนไว้จะมองเห็นได้เมื่อเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่าง

5. ลายรัศมีและลายพื้นเบื้องหลังภาพประธานทั้งด้านหน้าและด้านหลังธนบัตร จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเรืองแสง เมื่อส่องภายใต้รังสีเหนือม่วง

ธปท. จะนำธนบัตรที่ระลึกฯ ออกใช้ในวันที่ 9 มิถุนายน 2559 โดยจ่ายแลกพร้อมแผ่นบรรจุในราคา 100 บาท รายได้ส่วนต่างจากการจ่ายแลกธนบัตรทั้งหมดจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




  


The front of the banknote depicts the portrait of His Majesty King Bhumibol Adulyadej in the uniform of the Supreme Commander of the Armed Forces, the Royal House of Chakri gown with the Most Illustrious Order of the Royal House of Chakri, and the Knight Grand Cordon (Special Class) of the Most Illustrious Order of Chula Chom Klao breast chain.

The portrait of H.M. the King in full regalia holding the Sword of Victory, standing in front of the Phuttan Kanchanasinghat Throne inside the Paisan Taksin Hall is illustrated on the reverse of the banknote.

The size of this 70-Baht commemorative banknote is 89 x 162 mm with major security features as follows;

1. Raised Print: On both sides, H.M. the King’s portraits printed with the intaglio printing process can easily be felt by touch.
2. Glitter Ink: Thai numeral “๗๐” on both sides will sparkle dazzlingly upon tilting. 

3. Color-shifting Ink: Arabic numeral “70” on the reverse side is changed from gold to green upon tilting.
4. Latent Image: Hidden numeral “70” inside the Garuda on the front side becomes visible when the note is viewed from a certain angle.

5. Fluorescent Ink: Radial pattern behind the portrait on both sides will glow yellow under ultraviolet light.






เชิญสั่งจองด่วน!! ธนบัตรฉบับพิเศษ เฉลิมฉลอง “70ปี” ครองราชย์ http://www.chiangmainews.co.th/page/archives/489676 via @Live_Chiangmai
ออกธนบัตรเฉลิมพระเกียรติ ฉลองครองราชย์'ในหลวง'70ปี http://www.dailynews.co.th/economic/400988 via  @dailynewstwit