|
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
|
ตราสัญลักษณ์
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พุทธศักราช ๒๕๖๒
อักษรพระปรมาภิไธย วปร อยู่ตรงกลาง พื้นอักษรสีขาวขอบเดินทอง อันเป็นสีของวันจันทร์ซึ่งเป็น วันพระบรมราชสมภพ ภายในอักษรประดับเพชร ตามความหมายแห่งพระนาม มหาวชิราลงกรณ อักษร "วปร" อยู่บนพื้นสีขาบ (น้ำเงินเข้ม) อันเป็นสีของขัตติยกษัตริย์ ภายในกรอบพุ่มข้าวบิณฑ์สีทองสอดสีเขียว อันเป็นสีซึ่งเป็นเดชแห่งวันพระบรมราชสมภพ กรอบทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ อัญเชิญมาจากกรอบที่ประดิษฐานพระมหาอุณาโลม อันเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
แวดล้อมด้วย เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ อันเป็น เครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์และเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราช ได้แก่ พระมหาพิชัยมงกุฎ พร้อมอุณาโลมประกอบเลขมหามงคลประจำรัชกาล อยู่เบื้องบน พระแสงขรรค์ชัยศรี กับ พระแส้จามรี ทอดไขว้อยู่เบื้องขวา ธารพระกรกับพัดวาลวิชนี ทอดไขว อยู่เบื้องซ้าย และฉลองพระบาทเชิงงอน อยู่เบื้องล่าง
พระมหาพิชัยมงกุฎ หมายถึง ทรงรับพระราชภาระอันหนักยิ่งของแผ่นดินเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
พระแสงขรรค์ชัยศรี หมายถึง ทรงรับพระราชภาระปกป้องแผ่นดินให้พ้นจากภยันตราย
ธารพระกร หมายถึง ทรงดำรงราชธรรมเพื่อค้ำจุนบ้านเมืองให้ผาสุกมั่นคง
พระแส้จามรีกับพัดวาลวิชนี หมายถึง ทรงขจัดปัดเป่าความทุกข์ยากเดือดร้อนของอาณาประชาราษฎร์
ฉลองพระบาทเชิงงอน หมายถึง ทรงทำนุบำรุงปวงประชาทั่วรัฐสีมาอาณาจักร
เบื้องหลังพระมหาพิชัยมงกุฎ ประดิษฐาน พระมหาเศวตฉัตร อันมีระบายขลิบทอง จงกลยอดฉัตรประกอบรูปพรหมพักตร์อันวิเศษสุด ระบายชั้นล่างสุดห้อยอุบะจำปาทอง แสดงถึงพระบารมีและพระบรมเดชานุภาพที่ปกแผ่ไปทั่วทิศานุทิศ เบื้องล่าง กรอบอักษรพระปรมาภิไธยมีแถบแพรพื้นสีเขียวถนิมทอง ขอบขลิบทอง มีอักษรสีทองความว่า “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒”
ปลายแถบแพรเบื้องขวามีรูปคชสีห์กายม่วงอ่อน ประคองฉัตร ๗ ชั้น หมายถึง ข้าราชการฝ่ายทหาร เบื้องซ้ายมีรูปราชสีห์กายขาวประคองฉัตร ๗ ชั้น หมายถึง ข้าราชการฝ่ายพลเรือน ผู้ปฏิบัติราชการสนองงานแผ่นดินอยู่ด้วยกัน ข้างคันฉัตรด้านในทั้งสองข้างมีดอกลอยกนกนาค แสดงถึงปีมะโรงนักษัตรอันเป็นปีพระบรมราชสมภพ สีทองหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองยิ่งของประเทศชาติและประชาชน
(Unofficial Translation)
The Royal Emblem on the Auspicious Occasion
of the Coronation of King Rama X B.E. 2562 (2019)
The Royal Emblem, marking the Coronation of King Rama X B.E. 2562 (2019), depicts, in the centre, in white trimmed with gold, the Royal Cypher of His Majesty King Maha Vajiralongkorn. Each letter of the Cypher is decorated with diamonds which denote the origin from which the royal name "Maha Vajiralongkorn" is derived, whilst the gold trimming of the Cypher represents the colour of Monday which is the day of birth of His Majesty. The Cypher rests on a background of dark blue, the colour of righteous kingship, contained within a lotus bud frame marked out in gold and green, the mixture of which two colours signifies the power and might of His Majesty's day of birth. The lotus bud frame begets inspiration from the shape of its foremost predecessor ‐‐ the frame which enclosed the Great Unalome insignia of the Royal Seal of State of His Majesty King Buddha Yodfa Chulalok the Great (Rama I), founder of the Chakri Dynasty. Surrounding the outer parts of the frame are the Five Royal Regalia, deemed to embody the symbol of Kingship itself. Placed on top of the Royal Cypher is the Great Crown of Victory with the Unalome insignia which Unalome includes within it the sequence number of this reign. The Sword of Victory and the Royal Whisk of the Yak's Tail lie to the right of the Emblem while on the left of the Royal Emblem are placed the Royal Sceptre and the Royal Fan, and, lastly, below the Royal Cypher rest the Royal Slippers. The Great Crown of Victory represents the great burden bearing down on the person of His Majesty for the sake of his people's happiness. The Sword of Victory symbolises His Majesty's responsibility to protect the Kingdom from all harm threatening it. The Royal Sceptre signifies His Majesty’s Royal virtues to bring forth peace and stability to the Kingdom. The Royal Whisk and the Royal Fan symbolise His Majesty's righteousness as a ruler in relieving the suffering and hardship of His subjects. The Royal Slippers represent His Majesty’s care in fostering the sustenance and welfare throughout the Kingdom. Standing tall behind the Great Crown of Victory is the Great Umbrella of State trimmed with bands of gold. At the top of the Umbrella of State is the lotus bud finial showing Brahma Faces while the lowest tier of the Umbrella is decorated with golden Champa bouquets representing the extension in all directions yonder of His writ and authority. On the lowest part of the Emblem run stretches of green‐gold ribbon, trimmed in gold, bearing the words "The Coronation of King Rama X B.E. 2562 (2019)". At the right tip of the ribbon stands the purple Kojasi holding up a Seven‐tiered Umbrella representing the Armed Forces. On the left tip of the ribbon stands the white Ratchasi holding a second Seven‐tiered Umbrella which represents the Civil Service, which left and right together form the two pillars of public service. On the inner side of the shafts of the two Umbrellas, there are golden Naga traceries denoting the year of the dragon, the year of His Majesty's birth. The golden colour of the Naga traceries signifies the prosperity for the nation and her people.