March 29, 2013

๒๕๕๖ : ฉลองพระชันษา ๑๐๐ ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก • 2013 : 100th Birthday Anniversary of Somdet Phra Nyanasamvara, the 19th Supreme Patriarch of Thailand



 “งานฉลองพระชันษา ๑๐๐ ปี 
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก 
๓ ตุลาคม ๒๕๕๖” 

“The Celebration of the 100th Birthday Anniversary of 
His Holiness Somdet Phra Nyanasamvara 
the Supreme Patriarch of Thailand 
3rd October 2013” 

 


ความหมายของ ตราสัญลักษณ์ ฉลองพระชันษา ๑๐๐ ปี
สมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปริณายก

อักษรพระนาม ญ.ส.ส. ย่อมาจากสมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปริณายก  อักษร ญ. สีฟ้า (ผงคราม) หมายถึงวันประสูติ คือ วันศุกร์  อักษร ส. สีขาว  หมายความว่าทรงบริสุทธิ์วิเศษ  เป็นศรีศุภมงคลในพระบวรพุทธศาสนา  อักษร ส. สีเหลือง  หมายความว่าทรงเป็นสกลมหาสังฆปริณายก  องค์ประมุขแห่งคณะสงฆ์
อักษรพระนาม ญ.ส.ส. อยู่ภายใต้เศวตฉัตร ๓ ชั้น  อันเป็นเครื่องยศสมณศักดิ์สำหรับสมเด็จพระสังฆราช  รูปอักษรพระนามและฉัตรอยู่ภายในมณฑลประภา  คือรัศมีพระเจ้า  หมายความว่าทรงเป็นผู้ปราศจากมลทิน  อันสืบวงศ์ของพระชินสีห์บรมศาสดา  มีรูปช้างไอยราวัตชูครอบรัศมีมณฑลอยู่  หมายถึงทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์  และหมายถึงทรงอุบัติในสกุลคชวัตร  ใต้รูปช้างไอยราวัต  มีเลขมหามงคล ๑๐๐ หมายถึงทรงเจริญพระชันษายืนยาวนานกว่าสมเด็จพระสังฆราชองค์อื่นใดในอดีตที่ผ่านมา  ด้านล่างสุดผูกเป็นแพรแถบสีหงชาด (ชมพู) ขอบขลิบทองปลายทั้งสองเป็นช่อกระหนก  มีข้อความอักษรสีทองว่า  การฉลองพระชันษา ๓ ตุลาคม ๒๕๕๖  ปลายแพรแถบข้างขวาของตราสัญลักษณ์เขียน ๒๔๕๖ เป็นปี พ.ศ.ประสูติ  แถบข้างซ้ายเขียนปีที่ฉลองพระชันษาครบ ๑๐๐ ปี พ.ศ. ๒๕๕๖


(Unofficial  Translation)
The Royal Emblem
In Commemoration of the Celebration on the occasion of the 100th Birthday Anniversary of
His Holiness Somdet Phra Nyanasamvara, the Supreme Patriarch of Thailand
3rd October B.E. 2556 (2013)

The Royal Emblem depicts the  Royal Cypher of His Holiness Somdet Phra Nyanasamvara, the Supreme Patriarch of Thailand. The Thai letter “ญ” (Yor) in blue indicates His Holiness’ day of Birth which is Friday. The white Thai letter “ส” (Sor) refers to His auspicious insight of the teachings of the Lord Buddha and the yellow Thai letter “ส” (Sor) signifies His Holiness the Supreme Patriarch, Head of the Thai Sangha.

The Royal Cypher is placed under the Three-Tiered Umbrella which signifies the ecclesiastical honorific rank for the Supreme Patriarch. The frame of the Royal Cypher and the umbrella are encircled with the Lord Buddha’s rays of light meaning His Holiness, the upholder of Phra Shinnasi, the Buddha, is deprived of sin. The Aiyaravat elephant above the said rays signifies His Holiness who is a Supreme Patriarch of the Rattanakosin period, was born in the lineage of Gajavatra. The Thai numeral “๑๐๐” (100) beneath the elephant marks this auspicious years of His Holiness’ birthday which is longer than any birthday of other Supreme Patriarchs in Thai history. At the base of the Royal Emblem is a strip of pink ribbon trimmed with gold, two ends of the ribbon embellished with “Kranok” decorative design, bearing the words of the Celebrations of the Birthday Anniversary of His Holiness, 3rd October B.E. 2556 (2013). The right side of the end of the ribbon is written with the year of birth of His Holiness in B.E. 2456 (1913), while on the left side, is the year of the Celebrations of the 100th Birthday Anniversary of His Holiness in B.E. 2556 (2013)


การจัดงานฉลองพระชันษาสมเด็จพระสังฆราช ๑๐๐ ปี

รัฐบาลกำหนดจัดงานฉลองพระชันษาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ๑๐๐ ปี ตั้งแต่วันที่ ๒๑ เมษายน – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ การจัดทำเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์งานฉลองพระชันษาฯ เพื่อจำหน่ายและนำเงินรายได้สมทบมูลนิธิ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช และเชิญชวนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ประดับธงตราสัญลักษณ์ตามอาคารของหน่วยงานและบ้านเรือนในบริเวณที่เหมาะสม ในช่วงระยะเวลาของการจัดงานฉลองพระชันษา ๑๐๐ ปี โดยไม่ต้องขออนุญาต

ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองพระชันษาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ๑๐๐ ปี ๓ ตุลาคม ๒๕๕๖ เปิดเผยว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก จะทรงมีพระชันษา ๑๐๐ ปี ในวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๖ นับเป็นมหามงคลสมัยพิเศษยิ่ง ดังนั้น รัฐบาลจึงเห็นสมควรดำเนินการจัดงานฉลองพระชันษา เพื่อเผยแพร่พระประวัติ พระศาสนกิจ และพระเกียรติคุณ และได้กำหนดชื่อการจัดงานฉลองว่า “งานฉลองพระชันษา ๑๐๐ ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ๓ ตุลาคม ๒๕๕๖” และชื่อภาษาอังกฤษว่า “The Celebration of the 100th Birthday Anniversary of His Holiness Somdet Phra Nyanasamvara the Supreme Patriarch of Thailand 3rd October 2013” โดยกำหนดระยะเวลาของการจัดงานฉลอง ตั้งแต่วันที่ ๒๑ เมษายน – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เนื่องจากวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๖ เป็นวันคล้ายวันสถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และเป็นวันครบ ๒ รอบ หรือ ๒๔ ปี แห่งการได้รับพระราชทานสถาปนา








   

ในการนี้ ที่ประชุมเห็นชอบแบบตราสัญลักษณ์งานฉลองพระชันษาฯ ตามที่กรมศิลปากรเสนอ และเห็นชอบให้จัดทำเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์ฯ เพื่อจำหน่ายและนำเงินรายได้สมทบมูลนิธิ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมอบหมายสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และวัดบวรนิเวศวิหารดำเนินการ รวมทั้ง เชิญชวนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ประดับธงตราสัญลักษณ์ตามอาคารของหน่วยงานและบ้านเรือนในบริเวณที่เหมาะสม 

ในช่วงระยะเวลาของการจัดงานฉลองพระชันษา ๑๐๐ ปี โดยไม่ต้องขออนุญาต แต่หากเป็นการขอใช้ตราสัญลักษณ์เพื่อการประดับในสิ่งของหรือสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะเป็นการถาวร ซึ่งอาจจะเพื่อการค้าหรือไม่ก็ตาม ต้องส่งเรื่องให้วัดบวรนิเวศวิหารพิจารณาอนุญาตก่อน

สำหรับการจัดงานฉลองพระชันษา ๑๐๐ ปี รัฐบาลได้กำหนดจัดงานต่าง ๆ อาทิ การจัดงานพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล การจัดนิทรรศการเผยแพร่พระประวัติ พระศาสนกิจ และพระเกียรติคุณ การจัดกิจกรรมปฏิบัติบูชา “ญาณสังวร” การจัดทำหนังสือที่ระลึกและจดหมายเหตุ การจัดทำหอจดหมายเหตุวชิรญาณ การจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา และการจัดสร้างอาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นต้น 

ที่มา : ข่าว สปน. ข่าวที่ ๒๐/๒๕๕๖
วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๖

[Banknote] 2013 • 20 Baht Series 16 | ธนบัตร ชนิดราคา ๒๐ บาท แบบ ๑๖ (พระบรมราชานุสาวรีย์ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช)



ธนบัตรชนิดราคา ๒๐ บาท แบบ ๑๖ 

ภาพประธานด้านหน้า : 
พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ในฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์

ภาพประธานด้านหลัง : 
พระบรมราชานุสาวรีย์ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประทับบนพระแท่นมนังศิลาบาตร ภาพการประดิษฐ์อักษรไทย ภาพศิลาจารึกหลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง ภาพลายสือไทย ภาพทรงรับเรื่องราวร้องทุกข์ของราษฎร ภาพกระดิ่ง และภาพเครื่องสังคโลก

ขนาด : ๗.๒๐ x ๑๓.๘๐ เซนติเมตร 
วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
จ่ายแลก : วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๖

______________________________

Front: 
The portrait of King Rama IX in the Royal House of Chakri gown

Back: 
The images of the royal statue of King Ramkhamhaeng the Great seated on the Manangkhasila Asana Throne, the invention of the Thai script, the Ramkhamhaeng stele, ancient Thai script Lai Sue Thai, the grievance hearing, the Bell of King Ramkhamhaeng, and Sangkhalok Wares.

Size:  72 x 138 mm 
Notification Date : November 2, 2012
Issue Date : April 1, 2013


[Banknote] 2012 • 50 Baht Series 16 | ธนบัตร ชนิดราคา ๕๐ บาท แบบ ๑๖ (พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช)



ธนบัตรชนิดราคา ๕๐ บาท แบบ ๑๖  

ภาพประธานด้านหน้า : 
พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์

ภาพประธานด้านหลัง : 
พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงหลั่งทักษิโณทก 
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง  ทรงพระแสงดาบ นำทหารเข้าตีค่ายพม่า พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ อนุสรณ์ดอนเจดีย์  และพระเจดีย์ชัยมงคล วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ขนาด : ๗.๒๐ x ๑๔.๔๐ เซนติเมตร 
วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๔
จ่ายแลก : วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๕



This series has been issued to glorify Thai kings of different periods from past to present

Front: 
The portrait of King Rama IX in the Royal House of Chakri gown

Back: 
The images of the statue of King Naresuan Pouring water on the ground, symbolizing the declaration of independence, King Naresuan with his sword leading his troops to beat the Burmese camp, the statue of King Naresuan at the Don Chedi Memorial compund, Phra Chedi Chai Mongkol located at Wat Yai Chai Mongkol, Phara Nakhon Si Ayutthaya Province

Size:  72 x 144 mm 
Notification Date: June 24, 2011
Issue Date: January 18, 2012








Bangkok 2013 • World Newspaper Congress and World Editors Forum | การจัดการประชุมสภาหนังสือพิมพ์โลก การประชุมบรรณาธิการสื่อสิ่งพิมพ์โลก และ การประชุมการโฆษณาทางหนังสือพิมพ์โลก ปี ๒๕๕๖



การจัดการประชุมสภาหนังสือพิมพ์โลก
การประชุมบรรณาธิการสื่อสิ่งพิมพ์โลก และ
การประชุมการโฆษณาทางหนังสือพิมพ์โลก ปี ๒๕๕๖ 


ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสภาหนังสือพิมพ์โลก การประชุมบรรณาธิการสื่อสิ่งพิมพ์โลก และการประชุมการโฆษณาทางหนังสือพิมพ์โลก ปี ๒๕๕๖ ระหว่างวันที่ ๒ – ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖ ณ กรุงเทพมหานคร โดยขอความร่วมมือชาวไทยและชาวกรุงเทพมหานครร่วมให้การต้อนรับด้วยความอบอุ่น เพื่อส่งเสริมศักยภาพและภาพลักษณ์อันดีของไทยสู่สายตาสื่อมวลชนจากกว่า ๑๐๐ ประเทศ 
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนัก-นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้มีการประชุมคณะกรรมการจัดการประชุมสภาหนังสือพิมพ์โลกและการประชุมบรรณาธิการสื่อสิ่งพิมพ์โลก ปี ๒๕๕๖ ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อเตรียมการครั้งแรก ทั้งนี้ เนื่องจากคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ มีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสภาหนังสือพิมพ์โลกและการประชุมบรรณาธิการสื่อสิ่งพิมพ์โลก ปี ๒๕๕๖ “World Newspaper Congress and World Editors Forum” ตามที่สมาคมหนังสือพิมพ์และองค์กรสื่อสิ่งพิมพ์โลก (World Association of Newspapers and News Publishers: WAN-IFRA) มีหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ 

ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การจัดประชุมสภาหนังสือพิมพ์โลกและการประชุมบรรณาธิการสื่อสิ่งพิมพ์โลกในปีนี้ จะรวมการประชุมการโฆษณาทางหนังสือพิมพ์โลกเข้าไว้ด้วย ถือได้ว่าเป็นการจัดการประชุมเป็นครั้งแรกในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน กำหนดจัดระหว่างวันที่ ๒ - ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖ ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ กรุงเทพมหานคร โดยรัฐบาลไทยจะเป็นเจ้าภาพในวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๖ ซึ่งในวันที่ ๓ มิถุนายนนี้ นายกรัฐมนตรีจะมาเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมฯ ในช่วงเช้า และเป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำ นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่ให้การสนับสนุนการจัดงานนี้อีกเป็นจำนวนมาก อาทิ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการ-ต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) กรมประชาสัมพันธ์ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เดลินิวส์ มติชน เนชั่น บางกอกโพสต์ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ โดยการประชุมครั้งนี้ ได้มอบหมายงานให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องดังกล่าวรับไปเตรียมความพร้อมและกำหนดรายละเอียดที่จะดำเนินการ เพื่อให้การจัดการประชุมระดับนานาชาติครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสร้างความประทับใจแก่ผู้เข้าร่วมประชุม

ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการต้อนรับผู้มาเยือนซึ่งอยู่ในแวดวงสื่อสารมวลชน ในโอกาสนี้จึงขอความร่วมมือชาวไทยและชาวกรุงเทพมหานครร่วมให้การต้อนรับในฐานะเจ้าบ้าน เพื่อเป็นโอกาสประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ประเพณีวัฒนธรรมไทย รวมทั้งแสดงศักยภาพของประเทศไทยในด้านต่าง ๆ ผ่านสื่อมวลชนจากทั่วโลก

ที่มา : ข่าว สปน. ข่าวที่ ๑๕ /๒๕๕๖
วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๖
http://facebook.com/photo.php?fbid=540950882596688