September 30, 2010

2010 — พระบรมธาตุ มรดกธรรม นำสู่มรดกโลก : Phra That to World Heritage


หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอเสนอ "วัดพระบรมธาตุ" จ.นครศรีธรรมราช ขึ้นบัญชีเบื้องต้น (Tentative List) ต่อองค์การยูเนสโก โดยกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช ประสานกับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช วัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช และภาคประชาชน จัดทำเอกสารข้อมูลความพร้อมทั้งด้านอาณาเขต บริบทพื้นที่และคุณค่าทางวัฒนธรรม




Songkhla 2010 — ICOMOS Thailand International Conference 2009 - 2010


การประชุมวิชาการนานาชาติของอิโคโมสไทยประจำปี ๒๕๕๒ -๒๕๕๓
ICOMOS Thailand International Conference 2009 - 2010

สงขลา ๒๕๕๓
SONGKHLA 2010

มรดกโลก มรดกร่วม : การนำเสนอ คุณค่า และการจัดการ
World Heritage - Shared Heritage: Nomination Values and Management

๑๕ – ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๓
โรงแรมราชมังคลาพาวีเลี่ยนบีช และเมืองเก่าสงขลา
15 – 17 October 2010 Rajamangala Pavillion Beach Hotel and Songkhla Old Town, Songkhla, Thailand


เทศบาลนครสงขลา ภาคีคนรักเมืองสงขลา และมหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย ร่วมกับอิโคโมสไทยจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ "สงขลาสู่มรดกโลก" ระหว่างวันที่ 14 - 17 ตุลาคม 2553 ณ โรงแรมราชมังคลาพาวีเลี่ยน จ.สงขลา เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น เผยแพร่ความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการอนุรักษ์และฟื้นฟูย่านเมืองเก่าสงขลาและให้ประชาชนในท้องถิ่นได้ตระหนักและร่วมอนุรักษ์ย่านเมืองเก่า






— จัดโดย | Presented by —














ICOMOS Thailand — อิโคโมสไทย


สภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (International Council on Monuments and Sites หรือ ICOMOS) คือองค์กรวิชาชีพทางมรดกทางวัฒนธรรมในระดับสากล ซึ่งมีเป้าหมายการทำงาน เพื่อการอนุรักษ์ และปกป้องคุ้มครองโบราณสถานในลักษณะขององค์กรอิสระNGO ที่จะมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาอย่างเป็นทางการของ UNESCO โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคณะกรรมการมรดกโลก ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1965 ณ กรุงวอร์ซอว์ ประเทศ โปแลนด์ 1 ปี หลังจากการประกาศกฎบัตรเพื่อการอนุรักษ์และบูรณะโบราณสถาน "เวนิชชาร์เตอร์" ปัจจุบันมี สำนักงานของฝ่ายเลขานุการอยู่ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส




ICOMOS มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
  • เป็นเวทีในระดับระหว่างประเทศในการเจรจาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ผ่านทางเว็บไซต์ จดหมายข่าว วารสารวิชาการ และการจัดการประชุม สัมมนาต่างๆ รวมทั้งการประชุมสามัญ ซึ่งจัดขึ้นทุกๆ 3 ปี
  • เป็นเครือข่ายของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับมรดกทางวัฒนธรรม ด้วยการรวมกลุ่มของคณะกรรมการ โบราณสถานระดับชาติ (National Committee) ของประเทศสมาชิกชาติต่างๆมากกว่า 110 ประเทศ ที่จะได้มีการแลกเปลี่ยนแบ่งปันผู้เชี่ยวชาญ และประสบการณ์ซึ่งกันและกันโดยตรง หรือจากการรวมกลุ่ม เฉพาะทางในรูปของคณะกรรมการระหว่างประเทศ (International Scientific Committee)
  • ให้การช่วยเหลือในการแก้ปัญหา หรือสนับสนุนโครงการในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมขององค์กรต่างๆ ทั้งในระดับชาติ และระดับระหว่างประเทศ
  • ให้คำแนะนำ และเป็นผู้กำหนดข้อตกลงระดับระหว่างประเทศ กฎบัตร และแนวทางปฏิบัติต่างๆ เพื่อการปฏิบัติ ทางด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในแนวทางที่ดีที่สุด

ทั้งนี้ คณะกรรมการโบราณสถานแห่งชาติว่าด้วยสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS) หรือที่เรียกว่า "ICOMOS Thailand" ได้แก่ คณะกรรมการระดับชาติ (National Committee) คณะกรรมการหนึ่งของ ICOMOS ในฐานะตัวแทนของประเทศไทยนั่นเอง โดยประธานคณะกรรมการฯของแต่ละชาติยังมีฐานะเป็นกรรมการ ของคณะกรรมการที่ปรึกษาของ ICOMOS (Advisory Committee) ซึ่งสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธาน คณะกรรมการชุดนี้ได้อีกด้วย

คณะกรรมการโบราณสถานแห่งชาติว่าด้วยสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS) มีประวัติการก่อตั้งเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2528 ตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งเห็นชอบและอนุมัติให้แต่งตั้ง คณะกรรมการโบราณสถานแห่งชาติ สำหรับสภาระหว่างชาติว่าด้วยโบราณสถาน และแหล่งโบราณคดี (Thailand National committee for ICOMOS) มีจำนวนกรรมการทั้งสิ้น 25 ท่าน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานกรรมการ และอธิบดีกรมศิลปากร เป็นกรรมการและเลขานุการ ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2532 นายนิคม มูสิกะคามะ ผู้อำนวยการกองโบราณคดี ในขณะนั้น ได้เสนอขอความเห็นชอบ ให้ตั้ง"คณะกรรมการโบราณสถานแห่งชาติ สำหรับสภาการโบราณสถาน และโบราณคดีระหว่างประเทศ (ICOMOS)" ขึ้นใหม่เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน และประสานงานกับ ICOMOS โดยลดจำนวนกรรมการเหลือ 12 ท่าน โดยมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน และผู้อำนวยการกองโบราณคดี เป็นกรรมการและเลขานุการ




อย่างไรก็ดีในทางปฏิบัติ การดำเนินการของคณะกรรมการฯ ก็ยังคงไม่มีความคล่องตัวเท่าที่ควร จึงได้มีการปรับคณะกรรมการอีกครั้งในเดือนตุลาคม พ.ศ.2542 โดยคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ศก.841/2542 เรื่องแต่งตั้ง คณะกรรมการโบราณสถานแห่งชาติว่าด้วยสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS) โดยคงจำนวนกรรมการที่ 12 ท่าน มีนายสุวิชญ์ รัศมิภูติ เป็นประธานกรรมการ และผู้อำนวยการกองโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการ และล่าสุดได้แก่การปรับปรุงคณะกรรมการฯ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับโครงสร้างระบบราชการ และเพิ่มเติมคณะกรรมการให้ครอบคลุมถึงสายวิชาชีพต่างๆที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น ในครั้งนี้ประกอบด้วย คณะกรรมการ และเหรัญญิก 21 ท่าน โดยมีนายสุวิชญ์ รัศมิภูติ และปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นที่ปรึกษา อธิบดีกรมศิลปากรเป็นประธานกรรมการ และผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี เป็นกรรมการและเลขานุการ ตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการฯ ตังแต่วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2546

กิจกรรมในช่วงเวลาที่ผ่านมา ได้แก่การประกาศระเบียบกรมศิลปากรว่าด้วยการอนุรักษ์โบราณสถานตั้งแต่ปีพ.ศ. 2528 ตามแนวทางของกฎบัตรเวนิช การเดินทางไปเข้าร่วมประชุมในการประชุมสามัญของICOMOS และการประชุมทางวิชาการของคณะกรรมการวิชาการระหว่างประเทศของ ICOMOS ซึ่งกรรมการบางท่านเป็นสมาชิก เช่น คณะกรรมการว่าด้วยสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น (CIAV) การเดินทางไปให้คำแนะนำในฐานะผู้เชี่ยวชาญในการประเมินแหล่งมรดกโลก การจัดการประชุมวิชาการ และการประชุมของคณะกรรมการวิชาการระหว่างประเทศ เช่นการประชุมเรื่อง สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในปี 2540 ซึ่งสรุปผลจากการประชุมได้นำไปประกาศเป็นกฎบัตรว่าด้วยมรดกสิ่งก่อสร้างพื้น ถิ่น รับรองในที่ประชุมสามัญครั้งที่ 12 ณ ประเทศเม็กซิโก นอกจากนี้ ยังมีการให้ความร่วมมือเกี่ยวกับข้อมูลทางวิชาการต่างๆ ซึ่งมีการติดต่อกับฝ่ายเลขานุการของ ICOMOS ทางอินเตอร์เน็ต มาโดยตลอด และยังเคยมีการจัดประกวดแบบแนวความคิดเอกลัษณ์สถาปัตยกรรมท้องถิ่น ในปีพ.ศ. 2542 อีกด้วย อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานของคณะกรรมการยังคงมีความจำเป็น ต้องมีการปรับปรุง พัฒนา และเผยแพร่ให้กว้างขึ้นต่อไป


http://www.icomosthai.org/

2010 — 70th Anniversary of the Discovery of Lascaux caves, France


70th anniversary of the Discovery of Lascaux caves


the 70th anniversary of the discovery of the Lascaux cave paintings, by Andrew Howley on NGM Blog.



Inside Lascaux: Rare, Unpublished — Gallery from LIFE



2010 — Celebrate Peanuts 60 Years

October 2 marks the 60th anniversary of PEANUTS by Charles M. Schulz.


Peanuts ©UFS 60th Anniversary Logo produced by Special Projects Consulting, Tokyo

New Charlie Brown, Snoopy and Gang ©UFS logo celebrating 60 years of Peanuts


2005 — Disneyland's 50th Anniversary




The Happiest Homecoming on Earth was the eighteen-month-long celebration (May 5, 2005 through September 30, 2006) of the fiftieth anniversary of the Disneyland theme park, which opened on July 18, 1955. The Happiest Celebration on Earth commemorated fifty years of Disney theme parks, and celebrated Disneyland's milestone throughout Disney parks all over the globe.



September 29, 2010

Ayodya Resort Bali [Hotel]


Ayodya Resort Bali in Nusa Dua is a place of quintessential Balinese architectural style and elegance. Designed to resemble a Balinese water palace, the five-star resort is embellished with stone statues, fountains, and lagoon pools that exude the exotic grandeur of the island. This "Ramayana Epic theme" is reflected throughout the hotel's luxurious rooms, savory cuisine, rejuvenating wellness services, and first-rate event venues.


Ayodya Resort Bali Nusa Dua Indonesia

2010 — The Greatest of the Kings The Greetings of the Land 'on Tour'


The Greatest of the Kings The Greetings of the Land

กระทรวงมหาดไทย จัดโครงการ “เทิดทูนสถาบันสำคัญของชาติ เพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์” ประจำปี 2553 ใน 30 จังหวัดทั่วประเทศ 4 จังหวัดในภาคใต้ ได้แก่:

จังหวัดสงขลา — 29 กันยายน 2553 ณ สระบัว แหลมสมิหลา สงขลา
จังหวัดสุราษฎร์ธานี — 3-5 พฤษภาคม 2553 งาน Southern Expo 2010 สหกรณ์สุราษฎร์ธานี จำกัด
จังหวัดพัทลุง — 20 กรกฎาคม 2553 สนามหน้าศาลากลาง
จังหวัดนครศรีธรรมราช — 24 กันยายน 2553

2010 — "เทศกาลเดือนสิบ 2553" the 10th Lunar Month Making Festival, NST


ขอเชิญ ร่วมงาน "เทศกาลเดือนสิบ 2553" ระหว่างวันที่ 2 - 11 ตุลาคม ณ ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช และสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ '84 (ทุ่งท่าลาด) และจะมีขบวนแห่หมฺรับ ในวันที่ 7 ต.ค. 53 จากสนามหน้าเมืองไปยังวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร


2010 — ธิราชเจ้าจอมสยาม Thee Siamese Lord


ธิราชเจ้าจอมสยาม Thee Siamese Lord
ร้อยหลายเรื่องราว รำลึกร้อยปีสวรรคตสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง



ความเป็นมาของคำว่า “ธิราชเจ้าจอมสยาม” นำมาจากโคลงสี่สุภาพที่พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี ทรงนิพนธ์ถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เมื่อครั้งทรงประชวรด้วยความตรอมตรมพระทัยในกรณีเหตุการณ์ ร.ศ. 112 พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี จึงทรงนิพนธ์โคลงสี่สุภาพขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงปลุกปลอบพระทัยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง และสะท้อนความรู้สึกทุกข์ระทมของกลุ่มข้าราชสำนักฝ่ายใน เนื่องด้วยพระอาการประชวร ความตอนหนึ่งว่า

สรวมชีพข้าบาทผู้ ภักดี

พระราชเทวีทรง สฤษดิ์ให้

สุขุมาลมารศรี เสนายศ นี้นา

ขอกราบทูลท่านไท้ ธิราชเจ้าจอมสยาม






กสิกรไทยรำลึก100 ปี สวรรคตร. 5 ทำหนังสือ-สารคดี "ธิราชเจ้าจอมสยาม" ข่าวจาก หนังสือพิมพ์มติชน


September 28, 2010

Thai Creative Awards




มติที่ประชุมคณะกรรมการตัดสินรางวัลธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ประจำปี ๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ ได้พิจารณาตัดสินให้ธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ใน ๒ สาขา จำนวน ๖ ราย ได้รับรางวัล “ไทยสร้างสรรค์” ประจำปี ๒๕๕๓ ดังต่อไปนี้

สาขางานฝีมือและหัตถกรรม ได้แก่

1. ห้างหุ้นส่วนจำกัด กรกต อินเตอร์เนชั่นนอล

2. บริษัท พีคฌาน จำกัด

3. บริษัท ไทยนำโชคเท็กซ์ไทล์ จำกัด

สาขางานออกแบบ ได้แก่

1. บริษัท บาธรูม ดีไซน์ จำกัด

2. บริษัท พลาเน็ท 2001 จำกัด

3. บริษัท ไวเบรโต จำกัด


2010 — 36th Anniversary Muang Boran Journal


๓๖ ปี นิตยสารสารคดี (๒๕๑๓ - ๒๕๕๓)
36th Anniversary Muang Boran Journal


2010 — 25th Anniversary Sarakadee Magazine


๒๕ ปี นิตยสารสารคดี (๒๕๒๘ - ๒๕๕๓)
25th Anniversary Sarakadee Magazine



นิทรรศการ online บันทึก ๒๕ ปี สารคดี http://www.sarakadee25.com/

International Day of Peace — 21 September



International Day of Peace – 21 September



UN's Poster: 2007



UN's Poster: 2009